วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ของ Fiedler

ทฤษฎีเชิงสถานการณ์  Fiedler’s Leadership Contingency Theory
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E. Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับ  สภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้วิธีการบริหารแบบใดในสภาวการณ์นั้นๆ หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์นั้น  ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์  มีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
หลักการของการบริหารเชิงสถานการณ์
1.  การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2.  ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3.  เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎี
                             ทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์  และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4.  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5.  คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหา
                            วิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
                                6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
                                   6.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                   6.2  ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน
                                   6.3  ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
                                    6.4  ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ  
แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ ตามทฤษฎีของ Fiedler ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
2.  ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)
การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์ เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้นำท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกัน ทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้นำแต่ละท่านจะเลือกใช้ ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์
ที่มา  :  http://www.kroobannok.com/blog/20420

สรุปโดย : นายมานพ  เสร็จพร้อม  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  รุ่นที่  3  ศูนย์โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

การประเมินโรงเรียนของ สพม. 33

นายมานพ  เสร็จพร้อม  นำเสนอภาพรวมและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ให้กรรมการประเมินโรงเรียนจาก สพม. 33  ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นและผลงานเด่นของโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ซึงคณะกรรมการประมินได้ประเมินโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมในเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.  2554  โดยได้นำเสนองานด้วย  powerpoint  คณะกรรมการให้ความสนใจต่อกิจกรรมที่นำเสนอเป็นอย่างมาก
นายมานพ  เสร็จพร้อม  ครูโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมตอบคำถามและจัดหาเอกสารเสนอคณะกรรมการประเมินโรงเรียนจาก สพม. 33  โดยบรรยากาศของการประเมินเป็นไปอย่างราบรื่น

กิจกรรมทางศาสนา

ครูมานพ  เสร็จพร้อม  คณะครูและนักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์ร่วมกันเป็นเจ้าภาพกฐินสัมฤทธิ์  ณ  วัดป่ามฤคทายวันบ้านระกาสังแก  ปีพุทธศักราช  2553

ครูมานพ  เสร็จพร้อม  คณะครูโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ถ่ายภาพร่วมกับชุมชนในพิธีทอดกฐินสัมฤทธิ์  ณ  วัดว่ามฤคทายวัน  บ้านระกาสังแก  พ.ศ.  2553

ครูมานพ  เสร็จพร้อม  คณะครู  และนักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ร่วมกันสวดมนต์ทำวัดเช้าและวัดเย็น  ทุกวันพระ  เป็นหนึ่งในอีกหลายกิจกรรมของกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  ซึ่งจะปฏิบัติกิจกรรมตลอดทั้งปีการศึกษา
ครูมานพ  เสร็จพร้อม  คณะครูและนักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง  เนื่องในวันไหว้ครู  ปีการศึกษา  2553  ซึ่งคณะครู  นักเรียน  โรงเรียนรู้สึกอิ่มใจและอิ่มบุญ  ก่อนที่นักเรียนจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตา  ต่อคุณครูผู้มีพระคุณเป็นลำดับต่อไป

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

ร่วมกิจกรรมจอมพระนิทรรศ

นายเสน่ห์  ขาวโต  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเยี่ยมชมซุ้มนิทรรศการ
โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ในงานจอมพระนิทรรศ  ในปีการศึกษา  2553  โดยโรงเรียนตั้งใจได้นำเสนอผลงานเด่นของโรงเรียนหลายด้าน  ได้แก่  ผลงานทางวิชาการ  ผลงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โรงเรียนต้นแบบเกษตรอินทรีย์  โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  ซึ่งนายประหยัด  ทองทา  ผู้อำนวยการโรงเรียนตัั้งใจวิทยาคม  นายอภิสิทธิ  ตรงศูนย์  และนายมานพ  เสร็จพร้อม  ตลอดทั้งคณะครูและนักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม  ได้ช่วยกันนำเสนองาน  และร่ามถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

รับรางวัลโรงเรียนเครือข่ายฟื้นฟูศีลธรรมโลก

โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมดำเนินโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกจนได้รับรางวัลคุณภาพโรงเรียนเครือข่ายฟูื้นฟูศีลธรรมโลกระดับภาค  จากพระราชภาวนาวิสุทธิ์  ปีพุทธศักราช  2552  โดยนายอภิสิทธิ  ตรงศูนย์  ตัวแทนครู  นายศักดิ์นรินทร์ยิ่งได้ชม  นางสาวเสมียน  แสวงสุขตัวแทนเด็กดีวีสตาร์  เป็นผู้รับมอบ  นำความปราบปลื้มสู่คณะครูนักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมเป็นอย่างมาก

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมโครงการขยับกายวิธีพุทธ

คณะกรรมการประเมินโครงการขยับกายวิถีพุทธ  จากมูลนิธิธรรมะอิสระ  กรุงเทพมหานคร  เยี่ยมและประเมินครูพี่เลี้ยงแกนนำ  นักเรียนแกนนำโเรขยับครือข่ายการบริหารกายวิถีพุทธ  โดยมีครูมานพ  เสร็จพร้อม  เป็นครูพี่เลี้ยงแกนนำ  ในปี พ.ศ. 2553



ครูมานพ  เสร็จพร้อม  และนักเรียนแกนนำเครือข่ายการบริหารกายวิถีพุทธ  นำนักเรียนโรงเรียนตัังใจวิทยาคม  จังหวัดสุรินทร์  ขยับกายสู้ลมหนาวก่อนเรียน ทุกเช้า  ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553 ซึ่งการออกกำลังกายด้วยวิธีขยับกายวิถีพุทธช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีสมธิในการเรียน
 

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)


          การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นกลยุทธ์ทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่กระจายอำนาจในการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้โรงเรียนมีอำนาจ อิสระคล่องตัวในการตัดสินใจดำเนินการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนภายใต้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  การกระจายอำนาจ การจัดการศึกษา ของโรงเรียนโดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ และการแสดงภาระงานที่สามารถตรวจสอบได้ของโรงเรียน
 การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา  ได้แก่   ในการตัดสินใจด้านวิชาการ (หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน) งานบุคลากร การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป
การพัฒนาระบบสาระสนเทศ  SBM  คือโดยการกระจายสารสนเทศจากส่วนกลางสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา รวมทั้งจากผู้บริหารสู่ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียน
การพัฒนาความรู้และทักษะ  ความรู้และทักษะในการวางแผน ภาวะผู้นำ และเทคนิควิธีการทำงานอื่นๆ
การสร้างแรงจูงใจ  ให้สถานศึกษามีอิสระในการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง


การมีส่วนร่วม  สถานศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (เขตพื้นที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียน) มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหาร
และการจัดการศึกษา
การตรวจสอบและความโปร่งใส  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ในการบริหารและการจัดการศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
           1. วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
2. กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
3. กำหนดกลยุทธ์  วางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ 
4. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
        5. ประเมินตนเอง  ประเมินภายใน
6. รายงานประจำปี  รายงานการประเมินตนเอง
กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของ SBM
1. การสร้างความตระหนัก / ความรู้ความเข้าใจใน SBM
2.  การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร
3.  การพัฒนาวิชาชีพครู
4.  การมีวิสัยทัศน์
5.  การบริหารจัดการที่เป็นระบบ
6.  พัฒนาการมีส่วนร่วมในเรื่องการบริหารหลักสูตร
7.  การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
8.  การมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติงานที่เป็นระบบ
9.  การให้รางวัล

ที่มา  :    นายนิติกรณ์   ฉันท์วงศ์ชนะ  ผช.ผอ.โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  สุพรรณบุรี
สรุปโดย  :  นายมานพ  เสร็จพร้อม  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการบริหารศึกษา  รุ่นที่  3  ศูนย์โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบรี